10 วิธีดูแลสุขภาพง่ายๆ ห่างไกลจากโรค

10 วิธีดูแลสุขภาพง่ายๆ ห่างไกลจากโรค
10 วิธีดูแลสุขภาพง่ายๆ ห่างไกลจากโรค การดูแลสุขภาพ ควรเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เพื่อร่างกายที่แข็งแรงไม่ป่วยง่ายๆอีกต่อไป หากเราใส่ใจต่อสุขภาพโรคภัยต่างๆก็จะไม่มาเบียดเบียน ชีวิตดีมีความสุข มาเริ่มต้น ดูแลสุขภาพ
สุขภาพที่ดีใคร ๆ ก็อยากมี แต่วิถีการใช้ชีวิตในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน การเสพสื่อโซเชียล ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นต้นเหตุที่ทำให้สุขภาพของเราทรุดโทรมทั้งนั้น ดังนั้นผมจึงมีวิธีสร้างสุขภาพดีง่าย ๆ ที่อยากบอกต่อ ซึ่งหากคุณสาว ๆ ได้ทำตามล่ะก็ รับรองเลยว่า สุขภาพจะดีขึ้นแน่นอน
ปัจจุบันสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม การใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไปทั้งในแง่การใช้แรงงานทำงานมาใช้สมองนั่งโต๊ะทำงาน การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบทำให้เกิดความเครียด ขาดการออกกำลังกาย ขาดการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ขาดความสนใจต่อสุขภาพตัวทำให้เกิดโรคต่างๆซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลตัวเองให้ดีเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกัน หรือลดอุบัติการณ์ได้โดยการที่เราใส่ใจดูแลตัวเอง

1. ทานอาหารครบ 5 หมู่
ในแต่ละวันคนเราควรได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบทั้ง 5 หมู่ เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่ายๆ ทั้งยังช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้อีกด้วย หากเรารับประทานไม่ครบทั้ง 5 หมู่ หรือทานหมู่ใดหมู่หนึ่งมากเกินความต้องการของร่างกายก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและโรคต่างๆตามมา
อาหารที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันรวม 5 ชนิด โดยสารอาหารที่เหมือนกันจะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน และร่างกายของคนเราก็ต้องการสารอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ หรือ 5 ชนิด ในแต่ละวัน เพราะไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถจะให้สารอาหารได้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเราสามารถแบ่งอาหารออกเป็นหมู่หลัก ๆ ได้ 5 หมู่ ได้แก่
- หมู่ที่ 1 โปรตีน (เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว)
- หมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน)
- หมู่ที่ 3 เกลือแร่หรือแร่ธาตุ (พืชผัก)
- หมู่ที่ 4 วิตามิน (ผลไม้)
- หมู่ที่ 5 ไขมัน (ไขมันจากพืชและสัตว์)

2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย หากใครที่ชอบรับประทานข้าวขาวควรสลับกับข้าวกล้องบ้าง เพราะข้าวกล้องมีสารอาหารที่ครบถ้วนและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าข้าวขาว ส่วนเส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปังควรรับประทานเป็นบางมื้อเท่านั้น ข้าวและแป้งมีสารอาหารหลักคือคาร์โบไฮเดรตซึ่งร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงานหลัก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องทานอาหารประเภทแป้งมากกว่าหมู่อื่นๆ

3. กินผักและผลไม้
ผักผลไม้อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมายและมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง การรับประทานผักผลไม้ยังมีไฟเบอร์สูงจึงช่วยระบบขับถ่ายให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ ทั้งยังช่วยป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวารได้อีกด้วย

4. กินปลา
ปลาเป็นสัตว์ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นหนึ่งในอาหารทะเลยอดนิยม เนื่องจากมีโปรตีนที่ดีและอุดมด้วยไขมัน คนที่กำลังลดน้ำหนักหรือไม่อยากเพิ่มไขมันไม่ต้องกังวลใจไป เพราะไขมันในปลานั้นน้อยกว่าไขมันจากสัตว์ชนิดอื่น และปลาบางชนิดยังมีโอเมก้า ทรี (Omega 3) เป็นกรดไขมันมีประโยชน์ช่วยเพิ่มสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด พบได้ในปลาแซลมอน ยิ่งเป็นปลาแซลมอนที่อยู่ตามธรรมชาติจะมีวิตามินและแร่ธาตุสูงมาก หรือปลาเทราต์ (Trout) เช่น ปลาเทราต์สายรุ้ง เนื้อปลารสชาติดีและมีโอเมก้า ทรีสูง ปลาอีกชนิดที่ควรกินคือปลาค้อด (cod) มีทั้งโอเมก้า ทรี และวิตามินบี 12 ช่วยระบบประสาทของร่างกาย
เราควรรับประทานปลามากๆ เพราะปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ รองลงมาคือ ไข่ไก่ เต้าหู้ ถั่วเมล็ดแห้ง เนื้อปลายังมีไขมันต่ำและเป็นไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวซึ่งสามารถลดโคเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย ปลาให้พลังงานน้อยกว่าเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น อกไก่ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ไขมันสูง อย่าง หมูสามชั้น เบคอน แฮม ไส้กรอก

5. ดื่มนมเป็นประจำ
แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อกระดูกมากที่สุด คนเราควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 800 มิลลิกรัม เท่ากับควรดื่มนมวันละ 3-4 แก้ว สำหรับผู้สูงอายุร่างกายต้องการแคลเซียมอย่างน้อยวันละ 1,200 มิลลิกรัม เท่ากับควรดื่มนมวันละ 5-6 แก้ว แต่แคลเซียมก็สามารถหาได้จากแหล่งอาหารอื่นๆ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ถั่วเมล็ดแห้ง

6. กินอาหารที่มีไขมันต่ำ
ควรกินน้ำมันแต่น้อยเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะนอกจากจะทำให้อ้วนแล้วยังก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมา ดังนั้นควรลดอาหารที่มีไขมันสูง อย่าง ไก่ทอด กล้วยแขก ทอดมัน คุกกี้ มันฝรั่งทอด แล้วควรเปลี่ยนมาทานอาหารไขมันต่ำ เช่น อกไก่ ถั่ว อัลมอนด์ ไอศกรีมผลไม้ น้ำสลัดไขมันต่ำ กรีกโยเกิร์ต

7. หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัดหรือเค็มจัด
การรับประทานอาหารที่มีรสจัด จะทำให้ร่างการของเรานั้นทำงานหนักตามไปด้วย และยังเสี่ยงต่อโรคที่อาจจะเกิดตามมาทีหลังเช่น หากทานอาหารที่มีรสหวานจัดอาจทำให้เกิดเบาหวานได้ และหากทานอาหารที่มีรสเค็มจัดก็อาจจะเกิดโรคไตได้ ดับนั้นจึงพยายามหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงต่างๆ เช่น น้ำตาล เกลือ น้ำปลา โดยปกติคนเราสามารถบริโภค น้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และ เกลือควรไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน เรามาเริ่มลดอาหารเค็มจัด หวานจัด เพื่อสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาวกันดีกว่า

8. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เราควรดื่มแอลกอฮอล์เพียงวันละ 1-2 แก้ว การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคตับแข็ง โรคมะเร็งของหลอดอาหาร โรคแผลในกระเพาะและลำไส้ โรคความดันโลหิตสูง และยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอีกด้วย

9. ออกกำลังกายทุกวัน
การออกกำลังหายนั้นถือเป็นสั่งที่สำคัญต่อร่างกายมากๆ คนเราควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเต้นแอโรบิค ว่ายน้ำ ปั่นจักยาน โยคะ หรือแค่ยืดเส้นยืดสายหลังตื่นนอนก็ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าพร้อมรับวันใหม่แล้ว แต่ก็ไม่ควรที่จะหักโหมมากจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ร่างกายหรือกล้ามเนื้อของเรานั้นเกิดอาการอ่อนล้าได้

10. พักผ่อนให้เพียงพอ
เมื่อทำกิจวัตรต่าง ๆ ในแต่ละวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ การนอน เพราะร่างกายจะได้ซ่อมแซมฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ ควรนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงและนอนให้เป็นเวลา เพราะหากนอนดึกเกินไป ร่างกายอาจเหนื่อยล้าได้ อีกทั้งยังมีผลเสียตามมา เช่น มีริ้วรอย เสี่ยงต่อโรคภัยต่าง ๆ ทางที่ดีควรพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อตื่นขึ้นมารับวันใหม่ ร่างกายจะได้สดชื่นและตื่นตัวตลอดทั้งวัน สุขภาพร่างกายก็จะดีตามไปด้วย
บทความที่น่าสนใจ : Hotpot , Dragon Hatch